วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556




   ชื่อ-สกุล               พงษ์วัฒน์  อุทธายะ
   ชื่อเล่น                 หนุ่ม
   วัน/เดือน/ปีเกิด     19/ตุลาคม/2532
   อายุ                      23 ปี 
   สิ่งที่ชอบ              ชอบเล่นกีฬาฟุตบอล และการตกปลา
   ที่อยู่ปัจจุบัน         อารยาอพาทเม้นต์ 1 ถ.พัฒนาช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 
   การศึกษา             ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่



   




การเลี้ยงไก่ไข่
การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่ 
          ผู้เลี้ยงที่ยังไม่มีความรู้ความชำนาญงานประเภทนี้ ควรเริ่มต้นหัดเลี้ยงด้วยไก่จำนวนน้อย เพื่อศึกษาหาความรู้ความชำนาญเสียก่อน สำหรับผู้ที่มีความรู้ความชำนาญแล้ว อาจเริ่มต้นเลี้ยงตามขนาดของทุนและสถานที่ ถ้าเริ่มต้นด้วยไข่ฟัก หรือลูกไก่ ก็ย่อมลงทุนถูก หากเริ่มต้นด้วยไก่ใหญ่ ก็อาจะต้องใช้ทุนมากขึ้น โดยทั่วไปผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากระยะไหนก็ได้ อาทิเช่น
การเลี้ยงไก่ไข่ให้ได้กำไร
          การเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้ขนาดไข่ได้ขนาดฟองโต อายุการให้ไข่นาน ประสิทธิภาพการใช้อาหารเพื่อผลิตไข่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดโรคแทรกซ้อนน้อย อัตราการตายต่ำกว่าและอัตราการคัดทิ้งต่ำ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดการเลี้ยงดูเอาใจใส่เป็นอย่างดีตั้งแต่ลูกไก่ ไก่เล็ก ไก่รุ่น ไก่สาวนั่นเอง ดังนั้นไก่ไข่หรือก่อนให้ไข่ถือว่าเป็นช่วงที่การลงทุนสูงที่สุดแล้ว เพราะระยะต่อจากนี้ไปต้นทุนการผลิตจะเริ่มลดน้อยถอยลงตามอายุของการให้ไข่ ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อให้ไก่ไข่นั้นให้ผลผลิตสูงเป็นระยะเวลาที่นานที่สุดนั้นก็หมายความว่า ผู้เลี้ยงจะได้ตอบแทนสูงนั่นเอง








พันธุ์ไก่ไข่
ไก่พันธุ์แท้
 1. โร๊ดไอส์แลนด์แดงหรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไก่โร๊ด เป็นไก่พันธุ์เก่าแก่พันธุ์หนึ่ง มีอายุกว่า 100 ปี โดยการผสมและคัดเลือกพันธุ์มาจากพันธุ์มาเลย์แดง ไก่เซี่ยงไฮ้แดง ไก่เล็กฮอร์นสีน้ำตาล ไก่ไวยันดอทท์ และไก่บราห์มาส์ ไก่พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์แดง มี 2 ชนิดคือ ชนิดหงอนกุหลาบและหงอนจักร แต่นิยมเลี้ยงชนิดหงอนจักร

         



2. บาร์พลีมัทร็อค หรือที่เรียกกันว่า ไก่บาร์ เป็นไก่พันธุ์พลีมัทร็อค ผิวหนังสีเหลือง 

     รูปร่างลักษณะ 
ขนสีบาร์ คือมีสีดำสลับกับขาวตามขวางของขน
หงอนจักร
ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาลเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง - 6 เดือน







3. ไก่เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร  ถือได้ว่าเป็นไก่พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุดในประเทศไทยในบรรดาไก่เล็กฮอร์นด้วยกัน
- เป็นพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก
 - ขนสีขาว
 - ให้ไข่เร็วและดก
 - ไข่เปลือกสีขาว
 - มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูง เพราะมีขนาดเล็ก เลี้ยงปล่อยได้ดี ชอบกินหญ้า ทนอากาศร้อนได้ดี
 - เริ่มให่ไข่เมื่ออายุ 4.1/2 – 5 เดือน
 - น้าหนักเมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนักประมาณ 2.2 – 2.9 กิโลกรัม เพศเมียหนักประมาณ 1.8 – 2.2 กิโลกรัม
 - ให้ไข่ปีละประมาณ 300 ฟอง



โรงเรือนไก่ไข่
           การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เพื่อการค้านั้น จำเป็นจะต้องจัดสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบ มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถใช้เลี้ยงไก่ได้นานปี จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงไก่ไข่จะต้องสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบมาตรฐาน ตามสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โรงเรือนที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. สามารถป้องกันแดด ลม และฝนได้ดี
2.ป้องกันศัตรูต่างๆ เช่น นก, หนู, แมว ได้
3.รักษาความสะอาดได้ง่าย ลักษณะที่ดีโรงเรือนควรเป็นลวด ไม่รกรุงรัง น้ำไม่ขัง
4.ควรห่างจากบ้านคนพอสมควร ไม่ควรอยู่ทางด้านต้นลมของบ้าน เพราะกลิ่นขี้ไก่อาจจะไปรบกวนได้
5.ควรเป็นแบบที่สร้างได้ง่าย ราคาถูก ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ในท้องถิ่น
6.หากมีโรงเรือนไก่ไข่หลายๆ หลัง การจัดสร้างไม่ควรให้เป็นเรือนแฝดแต่ควรเว้นระยะห่างของแต่ละโรงเรือนไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการระบายอากาศ และความชื้นดีขึ้น

รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข
1. แบบเพิงหมาแหงน จัดเป็นโรงเรือนที่สร้างได้ง่ายที่สุด เพราะไม่สลับซับซ้อน ลงทุนน้อย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้าหันหน้าของโรงเรือนเข้าในแนวทางของลมมรสุม ฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ โรงเรือนแบบนี้ไม่ค่อยมีความทนทานเท่าที่ควร เนื่องจากจะถูกฝนและแดดอยู่เป็นประจำ


2. แบบหน้าจั่ว การสร้างโรงเรือนแบบนี้จะสร้างยากกว่าแบบแรก ทั้งนี้เพราะต้องพิถีพิถันในการจัดสร้างมากขึ้น รวมถึงความประณีตด้วย ดังนั้น ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงงานในการก่อสร้างจึงสูงกว่าแบบแรก แต่โรงเรือนแบบนี้มีข้อดีคือ สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดีกว่าแบบเพิงหมาแหงน


3. แบบจั่วสองชั้น ลักษณะของโรงเรือนแบบนี้จะสร้างได้ยากกว่าสองแบบแรก แต่มีข้อดีคือ อากาศภายในโรงเรือนแบบนี้จะเย็นกว่าสองแบบแรกมาก ทั้งนี้เพราะจั่วสองชั้นจะเป็นที่ระบายอากาศร้อนได้ดี ทำให้ไก่อยู่ได้อย่างสบายโดยไม่เกิดความเครียด



อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่
1. อุปกรณ์การให้อาหาร
          ถาดอาหาร ขนาด 48 x 72 x 6.5 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) จำนวน 1 ถาด ใช้กับลูกไก่อายุ 1-7 วัน ได้จำนวน 100 ตัว วางไว้ใต้เครื่องกก เพื่อหัดไก่กินอาหารเป็นเร็วขึ้น
             รางอาหาร ทำด้วยไม้ สังกะสี เอสล่อนหรือพลาสติก ทำเป็นรางยาวให้ไก่ยืนกินได้ข้างเดียวหรือสองขาง ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมี 2 ขนาดคือ ขนาดเล็กสำหรบลูกไก่ และขนาดใหญ่ใช้กับไก่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้รางอาหารอาจทำจากปล้องไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่แทนก็ได้
             ถังอาหาร ทำด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็นมาตรฐาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นิ้ว หลังจากลูกไก่อายุได้ 15 วัน อาจใช้ถังอาหารแบบแขวนได้ และให้อาหารด้วยถังตลอดไป การให้อาหารด้วยการใช้ถังแขวนนี้ต้องปรับให้อยู่ในระดับเดียวกับหลังไก่หรือต่ำกว่าหลังไก่เล็กน้อย อาหารจะไหลลงจานล่างได้โดยอัตโนมัติ และควรเขย่าถังบ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาหารติดค้างอยู่ภายในถัง สำหรับจำนวนถังสำหรับถังที่ใช้จะแตกต่างไปตามอายุของไก่
             รางอาหารแบบอัตโนมัติ โรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10-12 เมตร ใช้รางอัตโนมัติ 2 แถว แล้วเพิ่งถังอาหารแบบแขวนจำนวน 6-8 ถัง ต่อไก่จำนวน 1,000 ตัว แต่ถ้าโรงเรือนที่มีความกว้างเกิน 12 เมตร ควรตั้งรางอาหารเกิน 4 แถว


2. อุปกรณ์ให้น้ำ
          แบบรางยาว รางน้ำอาจทำด้วยสังกะสี พลาสติกหรือเอสล่อน การเลี้ยงลูกไก่อายุ 1-3 สัปดาห์ ถ้าใช้รางน้ำที่เข้าไปกินได้ด้านเดียว ควรใช้รางยาว 2-2.5 ฟุตต่อลูกไก่ 100 ตัว สำหรับไก่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนควรเพิ่มขึ้นอีก สำหรับไก่ในระยะไข่ ควรให้มีเนื้อที่รางประมาณ 1 นิ้ว ต่อ ไก่ 1 ตัว
             แบบขวดมีฝาครอบ เป็นภาชนะให้น้ำที่นิยมใช้มากเพราะใช้สะดวกมีขายอยู่ทั่วไป มีหลายขนาด หรือเกษตรกรอาจดัดแปลงจากขอบประมาณ 1 เซนติเมตร จำนวน 2 รู ใส่น้ำสะอาดแล้วคว่ำลงบนจานหรือถาดใช้เลี้ยงลูกไก่ได้ลูกไก่ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกควรใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ในอัตราส่วน 2 ใบ ต่อลูกไก่ 100 ตัว เมื่อลูกไก่อายุ 3-6 สัปดาห์ ใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ควรใช้ 2 ใบต่อลูกไก่ 100 ตัว


3. เครื่องกกลูกไก่ 
          เครื่องกกแบบฝาชี เป็นเครื่องกกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าเครื่องกกแบบอื่น มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ส่วนมากมีรูปร่างกลมหรือเป็นเหลี่ยม ทำด้วยโลหะช่วยให้ความร้อนสะท้อนลงสู่พื้นกก ขนาดของกกแบบฝาชีโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เมตร สามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 500 ตัว เครื่องกกแบบฝาชีอาจจะเป็นห้วยแขวนกับเพดาน สามารถปรับให้สูงต่ำได้ตามต้องการ เมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถดึงขึ้นเก็บไว้หรืออาจเป็นแบบมีขาวางกับพื้นคอกที่สามารถปรับให้สูงต่ำได้ และยกออกจากบริเวณกก เมื่อไม่ต้องการใช้ เครื่องกกแบบนี้ส่วนมากจะใช้ไฟฟ้า น้ำมันหรือแก๊ส เป็นแหล่งให้ความร้อน
           เครื่องกกแบบรวม เป็นการกกลูกไก่จำนวนมากๆ โดยให้ความร้อนจากแหล่งกลางแล้วปล่อยความร้อนไปตามท่อในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำ วางท่อไปตามความยาวของโรงเรือนตรงกลางใต้คอนกรีต อย่างไรก็ดี การกกลูกไก่ด้วยวิธีนี้การให้ความร้อนจะไม่ทั่วพื้นคอนกรีตทั้งคอก แต่จะให้เฉพาะตรงส่วนกลางไปตามความยาวของโรงเรือน กว้างเพียง 2-2.5 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้การกกแบบรวมอาจปล่อยความร้อนออกมาในรูปของลมร้อนออกมาตามท่อกระจายไปทั่วคอก ซึ่งแหล่งให้ความร้อนอาจได้จากน้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน หรือไม้ฟืน เป็นต้น



4. รังไข่ 
          รังไข่เดี่ยว เป็นรังไข่ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศ มีลักษณะเป็นแถวยาว แถวละ 4-6 ช่อง แต่ละช่องมีขนาดกว้าง 25-30 เซนติเมตร สูง 30-35 เซนติเมตร ด้านหน้าเปิดมีขอบสูงจากพื้นรังไข่ประมาณ 8-10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไข่และสิ่งรองรังไข่หลุดออกมาจากรังไข่ ด้านหลังอาจมีการปิดด้วยลวดตาขายตาห่าง เพื่อช่วยใหมีการระบายอากาศได้ดีขึ้น ด้านหน้ารังไข่ควรมีคอนให้ไก่เกาะเพื่อเข้าไปไข่ในรังได้สะดวก คอนเกาะหน้ารังไข่ รังไข่อาจวางเรียงเป็นแถวชั้นเดียวหรือวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ 2-3 ชั้น โดยให้ชั้นล่างสูงจากพื้นคอกประมาณ45 เซนติเมตร ส่วนหลังคาของรังไข่ชั้นบนสุด ควรให้ลาดชันหรือมีลวดตาข่ายปิดกั้น เพื่อป้องกันไก่บินขึ้นไปเกาะและนอนในเวลากลางคืน อัตราส่วนรังไข่ 1 รัง ต่อแม่ไก่ 4-5 ตัว
          รังไข่แบบไหลออก เป็นรังไข่ที่นิมใช้กันมาก ในการเลี้ยงไก่ไข่บนพื้นไม้ระแนง พื้นไม้ไผ่หรือพื้นคอนกรีต รังไข่แบบนี้อาจตั้งเดี่ยวหรืออาจวางซ้อนกันเป็นแถว โดยพื้นของรังไข่ทำเศษตาข่ายมีความลาดเอียงประมาณ 10 องศา ซึ่งทำให้ไข่กลิ้งออกมาตามแนวลาดเอียงมาติดอยู่นอกรัง ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเก็บไข่ไก่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปในโรงเรือน นับได้ว่าเป็นรังไข่ที่สะดวกกว่ารังไข่แบบอื่นมาก


5. วัสดุรองพื้น 
          วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเพื่อให้ไก่ในคอกสะอาดและอยู่ได้สบาย วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเลี้ยงไก่ควรหาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก และเมื่อเลิกใช้แล้วสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี
           วัสดุรองพื้นที่เหมาะสำหรับใช้ในประเทศไทยและนิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ แกลบ ขี้กบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เปลือกฝ้าย เปลือกถั่วลิสง เปลือกไม้และทราย ถ้าใช้แกลบควรมีฟางข้าวโรยหน้าบางๆ เพื่อป้องกันไก่คุ้ยแกลบลงไปในรางน้ำและรางอาหาร

http://www.dld.go.th/service/layer/tool.html
โรคและการทำวัคซีน
          1. โรคนิวคาสเซิล   เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดของไก่ในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การแพร่ะระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยการหายใจเอาเชื้อ หรือกินน้ำ อาหารที่มีเชื้อปนเข้าไป จากอุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย และสิ่งขับถ่ายอื่นๆ ของไก่ป่วย ไก่ที่ป่วยจะมีอาการทางระบบหายใจและระบบประสาท เช่น หายใจลำบาก มีเสียงดังเวลาหายใจ มีน้ำมูกไหล หัวสั่น กระตุก ขาและปีกเป็นอัมพาต คอบิด เดินเป็นวงกลม หัวซุกใต้ปีก สำหรับแม่ไก่ที่กำลังให้ไข่จะไข่ลดลงทันที่ และมักจะตายภายใน 3-4 วัน หลังจากแสดงอาการป่วย
              การป้องกัน โดยการทำวัคซีนลาโซตาเชื้อเป็น และลาโซตาเชื้อตาย ดูวิธีการใช้จากตารางการทำวัคซีนท้ายเล่ม
          2. โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ   เป็นโรคทางเดินหายใจที่แพร่หลายที่สุด เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้กับไก่ทุกอายุ แต่มักจะมีความรุนแรงในลูกไก่ มีอัตราการตายสูงมาก ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ อ้าปากและโก่งคอเวลาหายใจ หายใจลำบาก เวลาหายใจมีเสียงครืดคราดในลำคอ ไอ น้ำมูกไหล ตาแฉะ เซื่องซึม เบื่ออาหาร ในไก่ไข่จะไข่ลดลงอย่างกะทันหัน
              การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ
          3. โรคอหิวาต์ไก่  เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายทางอาหารและน้ำ ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหงอย ซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด ท้องร่วง อุจจาระมีสีเหลือง เหนียงมีสีคล้ำกว่าปกติ ถ้าไก่เป็นโรคนี้อย่างร้ายแรง ไก่อาจตายโดยไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น
              การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ คลอเตตร้าซัยคลิน หรือออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือใช้ยาประเภทซัลฟา เช่น ซัลฟาเมอราซีน หรือซัลฟาเมทธารีน
              การป้องกัน โดยการให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์
         4. โรคฝีดาษไก่   เป็นโรคที่มักเป็นกับลูกไก่และไก่รุ่น ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อกันโดยการสัมผัส เช่น อยู่รวมฝูงกัน และยุงเป็นพาหะของโรคกัด โรคนี้ไม่แสดงอาการป่วยถึงตาย ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการมีจุดสีเทาพองตามบริเวณใบหน้า หงอน เหนียง และผิวหนัง และเมื่อจุดพองขยายตัวและแตกออกเป็นสะเก็ดลูกไก่จะหงอยซึม ไม่กินอาหารและตายในที่สุด
              การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษไก่
            5. โรคหวัดติดต่อหรือหวัดหน้าบวม   เป็นโรคทางเดินหายใจมักเกิดกับไก่รุ่นและไก่ใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในเสมหะ น้ำมูก และน้ำตาของไก่ป่วย ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการอย่างรวดเร็ว โดยมีอาการจาม มีน้ำตา น้ำมูกอยู่ในช่องจมูกและเปียกเปรอะถึงปาก และมีกลิ่นเหม็น เมื่อเป็นรุนแรง ตาจะแฉะจนปิด หน้าบวม เหนียงบวม ไก่กินอาหารน้อยลง ไก่ที่กำลังให้ไข่จะไข่ลด
               การรักษา โดยใช้ยาพวกซัลฟา ได้แก่ ซัลฟาไธอาโซล ซัลฟาไดเมท๊อกซิน ส่วนยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ออกซี่เตตร้าซัยคลิน อิริโธมัยซิน และสเตรปโตมัยซิน
               การป้องกัน การจัดการสุขาภิบาล และการเลี้ยงดูที่ดี การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนที่ดี และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหวัดหน้าบวม
            6. โรคมาเร็กซ์   เป็นโรคที่มักเป็นกับไก่รุ่น ไก่สาว ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ที่สะสมอยู่ที่หนังไก่บริเวณโคนขนของไก่ป่วยเป็นแผ่นเล็กๆ คล้ายขี้รังแค ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการหงอยซึม การเจริญเติบโตไม่ได้ขนาด ในกรณีที่เป็นอัมพาต ไก่จะอ่อนเพลีย กินน้ำกินอาหารไม่ได้ การทรงตัวไม่ปกติ เดินขาลาก แล้วเป็นอัมพาตเดินไม่ได้

              การป้องกัน การสุขาภิบาล และการเลี้ยงดูที่ดีไม่ให้ไก่เครียด และการให้วัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์


การทำวัคซีนในไก่ไข่
ชนิดของวัคซีน
          1. วัคซีนเชื้อเป็น  เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีความรุนแรงแต่ถูกทำให้อ่อนแอลง หรือถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นจุลชีพที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ จุลชีพเหล่านี้สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดอาการแพ้วัคซีน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถให้ไก่ได้ทีละตัว โดยการหยอดตาหรือหยอดจมูก หรือให้ไก่เป็นกลุ่มโดยการละลายในน้ำดื่ม หรือการสเปรย์ ทำให้ประหยัดแรงงาน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่แต่ให้ความคุ้มโรคสูง อาจทำให้สัตว์เกิดโรคได้ แต่การเก็บรักษายุ่งยากกว่าวัคซีนเชื้อตาย และมีราคาถูก
          2. วัคซีนเชื้อตาย  เป็นวัคซีนที่มักเตรียมจากเชื้อที่ความรุนแรงที่ถูกทำให้ตายโดยทางเคมีหรือฟิสิกส์ จุลชีพเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงมีความปลอดภัย แต่ให้ความคุ้มโรคต่ำ วัคซีนเชื้อตายจะให้โดยวิธีการฉีดเท่านั้น สารที่ใช้ผสมกับวัคซีนจะเป็นน้ำมันหรืออลูมินั่มไฮดร็อกไซด์ สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดี วัคซีนเชื้อตายมีราคาแพงแต่เก็บรักษาง่าย
วิธีการทำวัคซีน
          1. การหยอดตาหรือหยอดจมูก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคนิวคาสเซิล และหลอดลมอักเสบ โดยละลายวัคซีนในน้ำยาละลายวัคซีน (น้ำกลั่น ที่อุณหภูมิห้อง) การใช้น้ำเย็นจัดอาจทำให้เยื่อบุอักเสบ ขวดที่ใช้หยอดวัคซีนควรเป็นขวดมาตรฐาน เพื่อให้ลูกไก่ได้รับวัคซีนครบโด๊ส การหยอดตาให้หยอดวัคซีน 1-2 หยดต่อไก่ 1 ตัว ตำแหน่งที่จะหยอดวัคซีนก็คือที่บริเวณมุมตาด้านใน รอจนกระทั่งวัคซีนเข้าไปในตาจึงปล่อยไก่ การหยอดจมูกจะให้ผลดีกว่าการหยอดตา การหยอดโดยใช้นิ้วมือปิดรูจมูกไว้ข้างหนึ่งแล้วจึงหยอดวัคซีนในรูจมูกอีกข้างหนึง การทำวัคซีนโดยการหยอดตาและหยอดจมูกทำให้ไก่ทุกตัวได้รับปริมาณวัคซีนที่ใกล้เคียงกันทุกๆ ตัว ดังนั้น ภูมิคุ้มโรคที่เกิดจึงมีระดับใกล้เคียงกัน เพียงแต่วิธีการทำยุ่งยาก เสียเวลา และเสียแรงงานมากกว่าเท่านั้น


          2. การแทงปีก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ คือบริเวณใต้ผิวหนัง เช่น วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ เป็นวัคซีนที่มีความเข้มข้นมาก เนื่องจากใช้น้ำยาละลายวัคซีนเพียงเล็กน้อย และใช้เข็มจุ่มวัคซีนครั้งละ 0.01 ซี.ซี. โดยสังเกตุจากการที่วัคซีนเต็มรูเข็มทั้งสองข้าง แล้วแทงเข็มจากทางด้านล่างผ่านทะลุผนังของปีกไก่ ระวังอย่าให้แทงผ่านขน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก ภายใน 7-10 วัน หลังจากทำวัคซีนจะเกิดรอยสะเก็ดแผลทั้งด้านบนและด้านล่างของผนังปีกไก่ซึ่งเกิดจากการแทงเข็มผ่าน

          3. การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง  เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการทำวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้ายทอยหรือฐานคอ ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ให้ผลในการคุ้มกันโรคนาน
          4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ   เป็นวิธีที่นิยมใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันดีกว่าการหยอดตาและจมูก เพราะจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วยสารนำขึ้นในกระแสเลือดและเกิดการหมุนเวียนไปทั่วร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกัน